เกดะห์

เกดะห์ หรือ ไทรบุรี (ภาษามลายู: Kedah; อักษรยาวี: قدح) มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอะมาน ("ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ") เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย ครอบคลุมขนาดเนื้อที่ 9,425 ตารางกิโลเมตร และประกอบด้วยพื้นที่ราบสำหรับปลูกข้าว รวมทั้งเกาะลังกาวี
เมืองหลวงของรัฐและเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อลอร์สตาร์ เมืองหลักๆ เมืองอื่นได้แก่ สุไหงปัตตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกูวะห์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี

ประวัติศาสตร์

เกดะห์เป็นนครรัฐที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน จากหลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่บริเวณหุบเขาบูจัง ซึ่งเป็นร่องรอยการตั้งอยู่ของอาณาจักรฮินดู-พุทธ ในสมัยศตวรรษที่ 4 อาณาจักรแห่งนี้ถือว่าเป็นอารยธรรมที่เก่ามากบนพื้นแผ่นดินมาเลเชีย และมีการสืบเชื้อสายปกครองดินแดนในแถบนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยของ กษัตริย์ชื่อ มะโรง มหาวงศ์ ซึ่งพระองค์นับถือศาสนาฮินดู โดยราชวงศ์ของพระองค์ ปกครองเกดะห์เรื่อยมาจนถึงกษัตริย์องค์ที่ 9 พระองค์มหาวงศ์ เกดะห์มีการติดต่อค้าขายกับอาหรับจนรับเอาอารยธรรมและศาสนาของชาวอาหรับเข้ามายึดถือ พระองค์มหาวงศ์ หันมานับถือศาสนาอิสลาม และเปลี่ยนชื่อเป็น สุลต่าน มุสซาฟา ชาห์ ในปี พ.ศ. 1679 (ค.ศ. 1136)
ตามประวัติศาสตร์แต่โบราณมา เมืองเกดะห์ถูกเรียกว่าเมืองไทรบุรีมา่โดยตลอด โดยในศตวรรษที่ 7-8 เมืองไทรบุรีขึ้นอยู่กับอาณาจักรศรีวิชัย หลังอาณาจักรศรีวิชัยล่มสลาย และเกิดอาณาจักรมะละกา ทางตอนใต้ เมืองไทรบุรีจึงไปขึ้นอยู่กับมะละกา จนกระทั่งศตวรรษที่ 17 พวกอาเจะห์ก็เข้าเข้าโจมตีเมืองไทรบุรี เจ้าเมืองไทรบุรีจึงได้ขอความช่วยเหลือยังอาณาจักรอยุธยาและถ้าปลดปล่อย สำเร็จจะขอเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอโยธยา โดยทางอาณาจักรอโยธยาได้ส่งกำลังทหารเข้ามาปลดปล่อยเมืองไทรบุรีจากพวกอา เจาะห์เป็นผลสำเร็จ ซึ่งตั้งแต่นั้นเมืองไทรบุรี ศตวรรษที่ 18 ก็อยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรอโยธยาต่อมาถึงอาณาจักรสยาม มาโดยตลอด ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชอาณาจักรสยามได้ มีการปรับปรุงการดูแลหัวเมืองทางใต้ใหม่ โดยตั้งรูปแบบมณฑลขึ้นและเปลี่ยนการเรียกเมืองเป็นจังหวัด จึงทำให้เมืองไทรบุรีเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดไทรบุรีสังกัดมณฑลมาลัย
ต่อมาอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนมาลายูทางใต้ของเมืองไทรบุรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก อังกฤษเข้ามามีอำนาจในดินแดนมาลายู โดยเจ้าเมืองไทรบุรีมีแผนการณ์หวังที่จะให้อังกฤษโดยมีข้อแม้ว่าต้ิองช่วยเมืองไทรบุรีให้ปลดปล่อยออกอำนาจของสยาม โดยเจ้าเมืองไทรบุรีมีข้อแลกเปลี่ยนคือยกเกาะหมากหรือเกาะปีนังในปัจจุบัน ให้กับอังกฤษ แต่อังกฤษสนใจเฉพาะการค้าเท่านั้นไม่มีต้องการมีเรื่องกับสยามเพราะ การค้าของอังกฤษในสยามกำลังเป็นไปได้ด้วยดี จึงปฏิเสธเจ้าเมืองไทรบุรีไปโดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับเรื่อง ภายในของประเทศอื่น ปีนังจึงอยู่ในการปกครองของต่อไป ต่อมาอังกฤษยึดอินเดียและพม่าเป็นรัฐอารักขาได้แล้ว และมีแผนขยายอำนาจอังกฤษจึงยอมรับข้อตกลงรับเกาะหมากหรือเกาะัปีนังจากเมือง ไทรบุรี โดยเรื่องนี้เมืองไทรบุรีไม่ได้แจ้งให้สยามซึ่ง มีอำนาจเหนือเมืองไทรบุรีในขณะนั้นทราบ ทางสยามเมื่อทราบจึงส่งกองทัพยกกำลังเพื่อมาจับเจ้าเมืองไทรบุรีเพื่อ พิจารณาโทษที่กรุงเทพฯ แต่ปรากฏว่าเจ้าเมืองไทรบุรีหนีเข้าไปอยู่ในเขตของอังกฤษ โดยสยามใน ขณะนั้นมีนโยบายไม่อยากเป็นศัตรูและรู้ว่าไม่สามารถทัดทานอำนาจของอังกฤษได้ ซึ่งผลทำให้เกาะปีนังตกเป็นของอังกฤษตั้งแต่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2329 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยต้องการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ได้เคยทำไว้กับอังกฤษโดยต้องการให้ ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะพิจาณาคดีและบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ ซึ่งขณะนั้นได้สร้างปัญหามากมายกับสยาม โดยอังกฤษมีข้อแลกเปลี่ยนคือสยามจะต้องยกสี่รัฐมาลัยให้เป็นของอังกฤษ ประกอบด้วย กลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี,ปะริด ซึ่งสยามได้ พิจารณาและตัดสินใจยอมยกสี่รัฐมาลัยให้แก่อังกฤษเมื่อ 10 มีนาคม 2441 เพื่อแลกเปลี่ยนตามเงื่อนไข ด้วยเหตุนี้เมืองไทรบุรีก็ตกอยู่ภายใต้รัฐมาลายูของอังกฤษ เมื่อเมืองไทรบุรีได้เข้าไปรวมอยู่รัฐมาลายูของอังกฤษซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม จึงได้เปลี่ยนชื่อไทรบุรี เป็น เกดะห์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

การแบ่งเขตการปกครอง

รัฐเกดะห์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 เขต ได้แก่
  1. เขตบาลิง (Baling)
  2. เขตบันดาร์บาฮารู (Bandar Baharu)
  3. เขตโกตาสตาร์ (Kota Setar)
  4. เขตกัวลามุดา (Kuala Muda)
  5. เขตกุบังปาซู หรือกูบังปาสู (Kubang Pasu)
  6. เขตกูลิม (Kulim)
  7. เขตลังกาวี (Langkawi)
  8. เขตปาดังเตอรัป (Padang Terap)
  9. เขตเปินดัง (Pendang)
  10. เขตเซะก์ (Sik)
  11. เขตยัน (Yan)

ประชากร

ประชากรในรัฐเกดะห์ตามกลุ่มชาติพันธุ์ในปี พ.ศ. 2546 ได้แก่ ชาวมาเลย์ (1,336,352 คน) ชาวจีน (252,987 คน) ชาวอินเดีย (122,911 คน) ไร้สัญชาติ (35,293 คน) และอื่นๆ (27,532 คน) ในจำนวนนี้มีกลุ่มชาวไทยไทรบุรี ซึ่งเป็นชาวไทยพลัดถิ่นที่ตกค้างในประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่การทำสนธิสัญญากับประเทศอังกฤษ

การคมนาคมขนส่ง

รัฐเกดะห์มีเครือข่ายทางหลวงเชื่อมต่ออย่างดี ดังนั้นจึงสะดวกและง่ายที่นักท่องเที่ยวจะเข้าไปถึง ทางด่วนเส้นเหนือ-ใต้ก็ตัดผ่านรัฐเกดะห์ จึงทำให้ย่นระยะเวลาการเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไป ยังอลอร์สตาร์ให้เหลือเพียง 5 ชั่วโมง ในทางเดียวกันรถไฟเกเรอตัปปีตานะห์มลายู (Keretappi Tanah Melayu) ก็เปิดให้บริการทุกวันจากเมืองหลักๆ ของมาเลเซียไปยังเมืองอลอร์สตาร์ และเมืองอื่นๆ
สายการบินแห่งชาติ (สายการบินมาเลเซีย) ก็มีเที่ยวบิน 3 เที่ยวต่อวันไปยังอลอร์สตาร์จากสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ สายการบินแอร์เอเชียเป็นสายการบินที่มีเที่ยวบินสองเที่ยวต่อวันไป อลอร์สตาร์ และยังออกจากสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ยังมีบริการเรือเฟอรีที่ออกทุกๆ ครึ่งชั่วโมงจากเกาะลังกาวีไปยังกัวลาเกดะห์ ตั้งแต่ 07.00 ถึง 19.00 น. ทุกวันอีกด้วย
การคมนาคมขนส่งอื่นๆ ก็มีรถโค้ชปรับอากาศและรถลีมูซีนทางไกลหรือแม้กระทั่งรถแท็กซี่ ก็ทำให้ได้บรรยากาศที่สดชื่นไปอีกแบบ

สถานที่ท่องเที่ยว

บาไลเบอซาร์ 
บาไลเบอซาร์ (Balai Besar) ถูกสร้างขึ้นในปี 1735 โดย สุลต่านโมฮาหมัด ยิวา (Mohamad Jiwa) สุลต่านองค์ ที่ 19 ของรัฐเกดะห์ ด้วยแรงบันดาลใจที่เคยไปเยี่ยมเยือนปาเลมบังในสุมาตรา มันได้ถูกบรรจงสร้างอย่างประณีตด้วยเสา หลังคาและการปูพื้นที่ทำด้วยไม้ แต่โชคไม่ดีนักที่โบราณสถานแห่งนี้ได้ถูกทำลายลงในระหว่างการโจมตีของสยามประเทศ ในปี 1787 และยังได้ถูกไฟเผาอย่างรุนแรงโดย Bugisin ในปี 1770 หลังจากนั้นมันก็ได้ถูกบูรณะขึ้นมาใหม่และใช้สำหรับการเข้าเฝ้า ราชาภิเษก งานแต่งงาน และราชพิธีต่างๆ
พิพิธภัณฑ์ของรัฐ 
พิพิธภัณฑ์ใหม่ของรัฐเกดะห์นั้นได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 27 มีนาคม 2003 แต่ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่ปี 1997 มันได้สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์แห่งวิถีชีวิตบ้านเรือนแบบฉบับวัฒนธรรม มาเลเซียได้อย่างดีเยี่ยมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “bumbung panjang” หรือหลังคาแบบยาว ที่ได้กลายมาเป็นรูปแบบหลักของการสร้างบ้านแบบมาเลย์ ตึกหลังนี้มีโถงจัดแสดงหลายห้อง (dewan) เช่น โถงวัฒนธรรม โถงประวัติศาสตร์ โถงด้านการขนส่ง โถงด้านการจารึก โถงอาวุธ โถงเกียรติยศ และโถงธรรมชาติ
มัสยิดซาฮีร์ 
มัสยิดแห่งนี้เปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1912 และสร้างในแบบสถาปัตยกรรมมัวร์ (Moorish) อย่างโดดเด่น
วัดจันดี บูกิต บาตู ปาฮัต (วัดเขาหินสลัก) 
ภายในวัดนี้มีจารึกภาษาสันสกฤต เครื่องกระเบื้องจีน ลูกปัดอินเดีย และเครื่องแก้วจากตะวันออกกลาง
Padi Museum (พิพิธภัณฑ์ข้าว) 
แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมล่าสุดของนักท่องเที่ยวที่มีการจัดแสดงลักษณะที่ แตกต่างกันออกไปของการเก็บเกี่ยวแบบ padi ตั้งแต่อดีตมา รวมไปถึงการจัดแสดงพันธุ์ข้าวจากทั่วโลก พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ที่ Gunung Keriang (กูนุง เกอเรียง), ประมาณ 8 กิโลเมตรจาก อลอสตาร์ นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับกรรมวิธีดั้งเดิมของการใช้อุปกรณ์การปลูกข้าว และพัฒนาการของเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวต่างๆ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
อลอร์สตาร์ทาวเวอร์ 
เป็นสถานที่ที่นิยมสำหรับชมทิวทัศน์รอบเมืองอลอร์สตาร์ ที่ความสูง 170 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ตึกโทรคมนาคมสื่อสารที่สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 19 ของโลกแห่งนี้ยังต้อนรับลูกค้าขาจรหรือลูกค้าบริษัทสำหรับการประชุมและสัมนา ที่จะเข้ามารับประทานอาหารในภัตาคารหมุนซรีมลายู (Seri Melayu) แห่งนี้อีกด้วย
โกตากัวลาเกดะห์ 
ซากปรักหักพังของป้อมปราการที่ยังคงอบอวลด้วยกลิ่นอายแห่งประวัติศาสตร์ แห่งนี้นั้นตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำเกดะห์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยช่างก่ออิฐชาวอินเดียในตอนต้นศตวรรษที่ 17 ด้วยความช่วยเหลือจากโปรตุเกสเพื่อ เป็นป้องกันศัตรูของรัฐเกดะห์ ทุกวันนี้ สถานที่แห่งนี้ยังเป็นที่รู้จักกันดีในท่ามกลางหมู่นักท่องเที่ยวและคนท้อง ถิ่นว่ามีอาหารทะเลที่รสชาติเยี่ยมอีกด้วย
บ้านเกิดอดีตนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ มูฮัมหมัด 
สถานที่เกิดของนายกรัฐมนตรีผู้เรืองอำนาจและมีชื่อเสียงระดับโลก – Tun Dr. Mahathir Mohamad สร้างขึ้นในปี 1900 มีการจัดแสดงจากช่วงเวลาที่ท่านยังเป็นเด็กจนเข้าโรงเรียนและจนถึงเวลาที่ ท่านเป็นแพทย์
ตลาดวันพุธ 
Pekan Rabu หรือตลาดวันพุธสร้างขึ้นในปี 1967 มีความเชื่อกันว่าตลาด แห่งนี้นั้นเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกที่รวมสินค้าที่จำเป็นประจำวันเอาไว้ เช่น อาหารพื้นเมืองมาเลย์, ยาพื้นบ้าน, หัตถกรรมและเสื้อผ้าภายในสถานที่แห่งนี้
ซินตา ซายัง กอล์ฟคลับ แอนด์ คันทรีรีสอร์ท 
ตั้งอยู่ห่างออกไปครึ่งชั่วโมงจากปีนัง ในเมืองที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งสุไหงปัตตานี คอร์สนี้มี 18 หลุม 72 พาร์ ซึ่งถูกออกแบบเพื่อนักกอล์ฟทุกระดับฝีมือ มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อยู่ด้วย เช่น ที่พัก รีสอร์ท กอล์ฟคลับ อาหารและเครื่องดื่ม คลับสุขภาพ และสนามม้า
Darul Aman Golf & Country Club (ดารุล อะมาน กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ) 
สนามกอล์ฟ 18 หลุมที่มีเนื้อที่กว่า 190 เอเคอร์ท่ามกลางพื้นที่แบบเนิน, มีต้นไม้ขึ้นเป็นแถว, เนินเขาเล็กๆ และหนองน้ำสลับไปกับสีเขียวชะอุ่ม ของทุ่งหญ้าสุดสายตาจะมองเห็น ที่นี่เป็นสนามกอล์ฟแบบ พาร์ 72 ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อท้าทายความสามารถของทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ ที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ Darul Aman Golf & Country Club แห่งนี้เป็นสนามกอล์ฟแห่งที่สองในมาเลเซียที่ได้รับรางวัล ISO 9001:2000 ที่ตั้งนั้นอยู่ห่างออกไป 5 นาทีจากสี่แยกบันดาร์ ดารุ้ลอามาน บนทางหลวงสาย North-South; 10 นาทีจากสนามบิน Sultan Abdul Halim; 15 นาทีจากเมือง อลอสตาร์; และประมาณครึ่งชั่วโมงจากบูกิต กายู ฮิตัม สนามกอล์ฟแห่งนี้ยังได้เสนอบรรยากาศที่ปลดปล่อยและผ่อนคลาย และยังสามารถที่จะพักผ่อนไปท่ามกลางธรรมชาติอีกด้วย